เมนู

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ



1. อัสสุตวาตาสูตรที่ 1 2. อัสสุตวตาสูตรที่ 2
3. ปุตตมังสสูตร 4. อัตถิราคสูตร
5. นครสูตร 6. สัมมสสูตร
7. นฬกลาปิยสูตร 8. โกสัมพีสูตร
9. อุปยสูตร 10. สุสิมสูตร

อรรถกถาสุสิมสูตรที่ 10



ในสุสิมสูตรที่ 10 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ครุกโต ความว่า เป็นอันเทวดาและมนุษย์กระทำให้หนัก
ด้วยจิต เหมือนฉัตรหิน. บทว่า มานิโต ได้แก่ อันเขาประพฤติรักใคร่
ด้วยใจ. บทว่า ปูชิโต ได้แก่ อันเขาบูชาด้วยการบูชาด้วยปัจจัย 4.
บทว่า อปิจิโต ได้แก่ อันเขายำเกรงด้วยการประพฤติอ่อนน้อม. จริงอยู่
มนุษย์ทั้งหลายเห็นพระศาสดาแล้ว ย่อมลงจากคอช้างเป็นต้น ถวายทาง
ลดผ้าจากจะงอยบ่า ลุกจากอาสนะถวายบังคม ดังกล่าวมานี้ ชื่อว่าเป็นผู้
อันมนุษย์เหล่านั้นยำเกรงแล้ว. บทว่า สุสิโม ได้แก่ บัณฑิตปริพาชก
ผู้ฉลาดในเวทางค์ ผู้มีชื่ออย่างนั้น.
บทว่า เอหิ ตฺวํ ความว่า ปริพาชกเหล่านั้นได้มีความคิดอย่างนี้
ว่า พระสมณโคดมอาศัยชาติและโคตรเป็นต้น ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยลาภ
ก็หาไม่ ที่แท้ทรงเป็นยอดกวี ผูกคัมภีร์คำร้อยกรองประทานแก่พระสาวก
เพราะทรงเป็นยอดกวี พระสาวกเหล่านั้น เรียนคัมภีร์นั้นหน่อยหนึ่งแล้ว
กล่าวลำเป็นต้นว่า อุปนิสินนกกถาบ้าง อนุโมทนาบ้าง สรภัญญะบ้าง

แก่อุปัฏฐากทั้งหลาย อุปัฏฐากเหล่านั้นก็น้อมนำลาภเข้าไป ถ้าพวกเราพึงรู้
อย่างละหน่อย ๆ จากสิ่งที่พระสมณโคดมรู้ เราพึงใส่ลัทธิของตนใน
คัมภีร์นั้น กล่าวแก่อุปัฏฐากทั้งหลาย ต่อแต่นั้นเราพึงเป็นผู้มีลาภมากกว่า
สาวกเหล่านั้น ใครเล่าจักบวชในสำนักพระสมณโคดมแล้ว สามารถเรียน
ได้ฉับพลันทีเดียว . ปริพาชกเหล่านั้น คิดอย่างนี้แล้ว เห็นว่าสุสิมะเป็น
ผู้ฉลาด จึงเข้าไปหาแล้วกล่าวอย่างนั้น.
บทว่า เยนายสฺมา อานนฺโท เตนุปสงฺกมิ ถามว่า เพราะเหตุไร
สุสิมปริพาชกจึงเข้าไปหา. ได้ยินว่า สุสิมปริพาชกมีความคิดอย่างนี้ว่า เรา
ไปสำนักใครหนอ จึงจักสามารถได้ธรรมโดยฉับพลัน. แต่นั้น จึงคิดว่า
พระสมณโคดม ผู้มากด้วยอำนาจคือความเคารพ ผู้ประกอบเนือง ๆ ซึ่ง
ความนิยม ใคร ๆ ไม่อาจจะเข้าเฝ้าในเวลาอันไม่สมควร แม้ชนเหล่าอื่น
เป็นอันมากมีกษัตริย์เป็นต้น ย่อมเข้าเฝ้าพระสมณโคดม ในสมัยแม้นั้น
ใครก็ไม่อาจจะเข้าเฝ้าได้ แม้บรรดาพระสาวกของพระองค์ พระสารีบุตร
ผู้มีปัญญามาก ทรงตั้งไว้ในเอตทัคคะในวิปัสสนาลักขณะ พระมหา-
โมคคัลลานะ ทรงตั้งไว้ในเอตทัคคะในสมาธิลักขณะ. พระมหากัสสปะ
ทรงตั้งไว้ในเอตทัคคะฝ่ายทรงไว้ซึ่งธุดงคคุณ พระอนุรุทธ ทรงตั้งไว้
ในเอตทัคคะฝ่ายมีจักษุทิพย์ พระปุณณมันตานีบุตร ทรงตั้งไว้ในเอตทัคคะ
ฝ่ายพระธรรมกถึก พระอุบาลีเถระ ทรงตั้งไว้ในเอตทัคคะฝ่ายทรงไว้ซึ่ง
พระวินัย ส่วนพระอานนท์นี้เป็นพหูสูต ทรงพระไตรปิฎก แม้พระศาสดา
ก็ทรงนำเทศนาที่ตรัสแล้วในที่นั้น ๆ มาตรัสแก่พระอานนท์นั้นอีก ทรง
ตั้งไว้ในเอตทัคคะ 5 ตำแหน่ง ท่านได้พร 8 ประการ ประกอบด้วยอัจฉริย-
อัพภูตธรรม 4 ประการ เราเข้าไปหาท่าน จักสามารถได้ธรรมโดยฉับพลัน

ฉะนั้น สุสิมปริพาชกจึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่.
บทว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ ความว่า ถามว่า เพราะเหตุไร
จึงนำเข้าไปหา ตอบว่า ได้ยินว่า พระอานนท์ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า
สุสิมปริพาชกนี้เป็นเจ้าลัทธิแผนกหนึ่งในลัทธิเดียรถีย์ เที่ยวปฏิญาณว่าเรา
เป็นศาสดา ครั้นบวชแล้ว แม้เมื่อไม่ได้คำสอนก็ยังพยายาม ทั้งเราก็ไม่รู้
อัธยาศัยของท่าน พระศาสดาจักทรงทราบ ฉะนั้น จึงพาท่านเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ.
บทว่า เตนหานนฺท สฺสิมํ ปพฺพาเชถ ความว่า ได้ยินว่า
พระศาสดามีพระดำริว่า ปริพาชกนี้เที่ยวปฏิญาณในลัทธิของเดียรถีย์ว่า
เราเป็นศาสดาเจ้าลัทธิแผนกหนึ่ง ได้ยินว่า ท่านกล่าวว่า เราปรารถนาจะ
ประพฤติมรรคพรหมจรรย์ในศาสนานี้ ท่านเลื่อมใสในเราหรือในสาวกของ
เรา หรือเลื่อมใสในธรรมกถาของเราหรือของสาวกของเรา ครั้นทรงทราบ
ว่า ท่านไม่มีความเลื่อมใสแม้ในฐานะเดียว ทรงตรวจดูว่า ผู้นี้บวชด้วย
ตั้งใจว่า จักขโมยธรรมในศาสนาของเรา ดังนั้น การมาของเขาจึงไม่
บริสุทธิ์ ผลสำเร็จเป็นเช่นไรหนอ ทรงทราบว่า ถึงท่านจะบวชด้วย
ตั้งใจว่าจักขโมยธรรมก็จริง ถึงอย่างนั้น ท่านพยายาม 2- 3 วันเท่านั้น
ก็จักบรรลุพระอรหัต จึงตรัสว่า เตนหานนฺท สุสิมํ ปพฺพาเชถ ดังนี้.
บทว่า อญฺญา พฺยากตา โหติ ความว่า ได้ยินว่า ภิกษุเหล่านั้น
เรียนพระกัมมัฏฐานในสำนักพระศาสดา อยู่จำพรรษาตลอดไตรมาส เพียร
พยายามอยู่ ได้บรรลุพระอรหัตภายในไตรมาสนั้นเอง. ภิกษุเหล่านั้น
คิดว่า เราจักกราบทูลคุณที่ตนได้แล้วแด่พระศาสดา ทำปริสุทธปวารณา
แล้วเก็บงำเสนาสนะ มาเฝ้าพระศาสดา กราบทูลคุณที่ตนได้ ซึ่งท่านหมาย

เอาคำที่กล่าวไว้แล้วนั้น.
ก็บทว่า อญฺญา เป็นชื่อของพระอรหัต. บทว่า พฺยากตา
แปลว่า กราบทูลแล้ว. บทว่า อสฺโสสิ ความว่า ได้ยินว่า ท่าน
เงี่ยโสตลงสดับ ไปยังที่ที่ภิกษุเหล่านั้นอยู่ ประสงค์จะฟังถ้อยคำนั้น ๆ จึง
เข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นถึงที่อยู่. ถามว่า เข้าไปหาทำไม. ได้ยินว่า ท่าน
สดับเรื่องนั้นแล้วจึงคิดดังนี้ว่า ขึ้นชื่อว่าพระอรหัตผล เป็นปริมาณในพระ
ศาสนานี้ ชะรอยว่ากำมือคือความรู้ของอาจารย์จักเป็นสาระ เพราะฉะนั้น
จึงเข้าไปหา.
บทว่า อเนกวิหิตํ แปลว่า มีหลายอย่าง. บทว่า อิทฺธิวิธํ ได้แก่
ส่วนแห่งฤทธิ์. ด้วยบทว่า อาวีภาวํ ติโรภาวํ ท่านถามว่า พวกท่าน
สามารถทำสิ่งที่ปรากฏให้หายไป [หายตัว] ทำสิ่งที่หายไปให้ปรากฏได้
หรือ [ปรากฏตัว]. บทว่า ติโรกุฑฺฑํ แปลว่า นอกฝา. แม้
ภายนอกภูเขาก็นัยนี้แหละ บทว่า อุมฺมุชฺชนิมฺมุชฺชํ แปลว่า ผุดขึ้นและ
ดำลง. บทว่า ปลฺลงเกน แปลว่า ด้วยการนั่งขัดสมาธิ. ด้วยบทว่า กมถ
ท่านถามว่า พวกท่านสามารถที่จะนั่งหรือยึดเอาได้หรือ. บทว่า ปกฺขี
สกุโณ
แปลว่า นกที่มีปีก. ในข้อนี้ มีความสังเขปเพียงเท่านี้ ส่วนความ
พิสดาร พึงทราบนัยแห่งการพรรณนาอิทธิวิธญาณนี้ และทิพยโสต
เป็นต้นนอกจากนี้ โดยนัยที่กล่าวแล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรค.
บทว่า สนฺตา วิโมกฺขา ความว่า อรูปวิโมกข์ ชื่อว่าสงบ
เพราะสงบองค์ และเพราะสงบอารมณ์. บทว่า กาเยน ผุสิตฺวา ได้แก่
ถูกต้องคือได้ด้วยนามกาย. ด้วยคำว่า ปญฺาวิมุตฺตา โข มยํ อาวุโส.
ท่านแสดงว่า อาวุโส พวกเราเป็นผู้เพ่งฌาน เป็นสุกขวิปัสสก หลุดพ้น

ด้วยสักว่าปัญญาเท่านั้น. ถามว่า เพราะเหตุไร ภิกษุเหล่านั้นจึงกล่าวอย่างนี้
ว่า อาชาเนยฺยาสิ วา ตฺวํ อาวุโส สุสิม น วา ตฺวํ อาชาเนยฺยาสิ
ดังนี้. เพราะเล่ากันมาว่า ภิกษุเหล่านั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า พวกเรา
ไม่สามารถจะยึดอัธยาศัยของสุสิมภิกษุนี้กล่าวได้ สุสิมภิกษุนี้ถามพระทศพล
อีก จึงจักหมดความสงสัย. บทว่า ธมฺมฏฺฐิติญาณํ ได้แก่วิปัสสนาญาณ.
วิปัสสนาญาณนั้นเกิดขึ้นก่อน. บทว่า นิพฺพาเน ญาณํ ได้แก่มรรคญาณ
ที่เป็นไปในที่สุดแห่งวิปัสสนาที่เคยประพฤติ. มรรคญาณนั้นเกิดขึ้นภายหลัง
ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนั้น.
ถามว่า เพราะเหตุไร ท่านจึงกล่าวว่า อาชาเนยฺยาสิ วา เป็นต้น.
แก้ว่า เพื่อแสดงการเกิดขึ้นแห่งญาณอย่างนี้แม้เว้นสมาธิ. ความจริง
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอธิบายไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสุสิมะ มรรคก็ตาม ผล
ก็ตาม ไม่ใช่เป็นผลของสมาธิ ไม่ใช่เป็นอานิสงส์ของสมาธิ ไม่ใช่เป็น
ความสำเร็จของสมาธิ แต่มรรคหรือผลนี้ เป็นผลของวิปัสสนา เป็น
อานิสงส์ของวิปัสสนา เป็นความสำเร็จของวิปัสสนา ฉะนั้น ท่านจะรู้ก็ตาม
ไม่รู้ก็ตาม ที่แท้ธัมมัฏฐิติญาณเป็นญาณในเบื้องต้น ญาณในพระนิพพาน
เป็นญาณภายหลัง.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า ท่านสุสิมะนั้นควรจะแทง
ตลอด เมื่อทรงแสดงพระธรรมเทศนาเรื่องไตรลักษณ์ จึงตรัสว่า ตํ กึ
มญฺญสิ สุสิม รูปํ นิจฺจํ วา อนิจฺจํ วา
ดูก่อนสุสิมะ เธอจะสำคัญ
ความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ดังนี้เป็นต้น. ก็ในเวลาจบ
เทศนาเรื่องไตรลักษณ์ พระเถระบรรลุพระอรหัต. บัดนี้ พระผู้มี
พระภาคเจ้า
เมื่อจะทรงยกขึ้นซึ่งความพยายามของพระเถระนั้น จึงตรัสว่า

ชาติปจฺจยา ชรามาณนฺติ สุสิม ปสฺสสิ ดูก่อนสุสิมะ เธอเห็นว่า
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะหรือ ดังนี้ เป็นต้น. ถามว่า
เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงปรารภคำนี้ว่า อปิ นุ ตฺวํ สุสิม
ดังนี้. แก้ว่า เพื่อทรงกระทำให้ปรากฏแก่เหล่าภิกษุสุกขวิปัสสกผู้เพ่งฌาน.
ก็ในข้อนี้มีอธิบายดังนี้ว่า มิใช่เธอผู้เดียวเท่านั้นที่เป็นผู้เพ่งฌาน เป็นสุกข-
วิปัสสก แม้ภิกษุเหล่านั้น ก็เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน. คำที่เหลือในบท
ทั้งปวง ปรากฏแล้วทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาสุสิมสูตรที่ 10
จบอรรถกถามหาวรรคที่ 7

สมณพราหมณวรรคที่ 8



1. ปฐมสมณพราหมณสูตร



ว่าด้วยสมณะหรือพราหมณ์ ไม่รู้ชรามรณะ



[305] ข้าพเจ้าสดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.
[306] ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่า
หนึ่ง ไม่รู้ชราและมรณะ ไม่รู้เหตุเกิดชราและมรณะ ไม่รู้ความดับชรา
และมรณะ ไม่รู้ปฏิปทาอันให้ถึงความดับชราและมรณะ สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่ได้รับสมมติว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือ
ไม่ได้รับสมมติว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ อนึ่ง ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น
จะทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเห็นสมณะ หรือประโยชน์แห่งความ
เป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ไม่ได้.
[307] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะก็ดี หรือพราหมณ์ก็ดี
เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมรู้ชราและมรณะ ย่อมรู้เหตุเกิดชราและมรณะ
ย่อมรู้ความดับชราและมรณะ ย่อมรู้ปฏิปทาอันให้ถึงความดับชราและ
มรณะ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมได้รับสมมติว่าเป็นสมณะในหมู่
สมณะ ย่อมได้รับสมมติว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ อนึ่ง ท่าน
เหล่านั้นย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะและประโยชน์